โปรดทราบ

ร่วมแจ้งข่าวสารต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน "เมืองแกลงนิวส์" ได้ที่ muangklangnews@gmail.com เพื่อที่กองบรรณาธิการข่าวจะได้พิจารณานำเผยแพร่ต่อไป

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ดูนักวิจัยจาก Institute for Global Environmental Strategies ,Japan นำเสนอกรณีศึกษาการต่อกรกับภาวะโลกร้อนของเมืองแกลง

       







  1. สองนักวิจัยของ IGES (Institute for Global Environmental Strategies ) จากประเทศญี่ปุ่นที่เดินทางเข้ามาทำงานวิจัยการจัดการสิ่งแวดล้อมของเมืองแกลงแต่เมื่อปลายปีที่แล้วอยู่หลายรอบ ได้จัดทำเอกสารผลงานการวิจัยภาคภาษาอังกฤษออกเผยแพร่ โดยมีเนื้อหาว่าด้วยเรื่องปัญหาภาวะโลกร้อนที่กำลังส่งผลกระทบต่อมวลมนุษย์จากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นมากมายกระจายไปทุกที่และถี่ครั้งขึ้น... และมีการวิเคราะห์ถึงบทบาทเมืองในกลุ่มประเทศอาเซียนที่จะมีศักยภาพขีดความสามารถของความเป็นองค์กรปกครองท้องถิ่น เข้าต่อกรเพื่อบรรเทาปัญหานี้ได้อย่างไร มีแนวคิด มีเครื่องมือใดที่จะส่งเสริมมาตรการบรรเทาอาการป่วยของดินฟ้าอากาศและของโลกได้อย่างไรเหล่านี้ พร้อมข้อสังเกตต่าง ๆ โดยใช้เทศบาลตำบลเมืองแกลงเป็นพื้นที่จัดทำกรณีศึกษาต่อเรื่องนี้จนได้เอกสรรรายงานฉบับนี้ขึ้นมาแล้ว

    ท่านผู้สนใจสามารถไปที่ http://enviroscope.iges.or.jp/modules/envirolib/upload/4155/attach/PB_24E_final.pdf 







  

วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ตลาดนัดสีเขียวกลางแกลง นับหนึ่งสู่ความสะอสดปลอดภัยให้ผู้บริโภค






  ดัวยแนวความคิดที่จะส่งเสริมเรื่องความมั่นคงทางอาหาร ที่อยากให้ชาวเมือง

แกลงได้กลับมาเพาะปลูกพืชผักสวนครัวกันตามพื้นที่ว่างที่เหลืออยู่ภายในบริเวณบ้าน
เพื่อได้บริโภคของที่ปลูกไว้รับประทานกันเองในพื้นที่ ซึ่งจะช่วยลดการพึ่งพาพืชอาหาร
ที่มีการปลูกแบบเน้นจำนวนและให้ได้ผลผลิตสูงสุด โดยที่เราไม่อาจได้เห็นกรรมวิธีและ
ชนิดของปุ๋ยหรือยาฆ่าแมลงที่ใช้...ตลาดนัดสีเขียวเพื่อผู้บริโภคจึงได้เกิดขึ้นด้วยเหตุนี้
เป็นสำคัญ

        กอปรกับพื้นที่บริเวณโรงเรียนอยู่เมืองแกลงวิทยา มีความเหมาะสมที่จะใช้จัดตลาด

ดังกล่าวโดยกำหนดไว้ทุกวันพุธ ตั้งแต่ ๑๕.๓๐น. เป็นต้นไป ซึ่งจะไม่กระทบกับการเรียน
การสอน แต่ในทางตรงกันข้าม กลับจะทำให้พื้นที่โรงเรียนและชุมชนกับสนามกีฬาและ
สวนสาธารณะเกื้อกูลกันได้ สร้างรายได้ สร้างการเรียนรู้และเกิดประโยชน์สำหรับทุกฝ่าย

        เทศบาลฯ ได้ไหว้วานผู้มีประสบการณ์กับการจ่ายตลาด และคลุกคลีวนเวียนชาญเชี่ยวกับ

การปรุงอาหารมาหารือที่จะเปิดตลาดนัดสีเขียวแล้ว โดยจะช่วยกันลงพื้นที่เสาะหาผู้เพาะปลูก
พืชผักรายย่อย และสุดยอดฝีมือการปรุงอาหาร เพื่อเชิญมาออกร้านกัน ทุกวันพุธของสัปดาห์
 เริ่มพุธแรก วันที่ ๑๒ ธันวาคม ศกนี้




สมชาย จริยเจริญ
นายกเทศมนตรีตำบลเมืองแกลง

วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ตีเส้นจอดถนนเทศบาล ๑,๒,๓ หมายลดการเฉี่ยวชน และเพิ่มความเรียบร้อย ความคล่องตัวในการเดินทาง




สัปดาห์ที่ผ่านมา เทศบาลฯ ได้ตีช่องจอดรถในถนนสายหลักอีก ๓ สายคือ เทศบาล ๑,๒ และ ๓ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สืบเนื่องจากถนนทั้งสามสาย เป็นถนนสายการค้าหลัก จึงมียวดยานพาหนะคับคั่ง และมีที่จอดรถยนต์ค่อนข้างจำกัด สามารถจอดได้แต่ตามริมทางเป็นส่วนมาก โดยมุ่งหวังจะได้รับความร่วมมือในการจอดรถยนต์ภายในช่องที่กำหนดให้ ไม่ล้ำออกมานอกเส้น เพื่อลดปัญหาการเฉี่ยวชนกับรถที่วิ่งไปมาอันจะทำให้เกิดความเสียหายในทรัพย์สิน และมุ่งหวังให้มีพื้นผิวจราจรที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีความคล่องตัวในการเดินทางแก่ทุกฝ่าย

ในระยะแรกจะออกประชาสัมพันธ์ในหลายสื่อหลายช่องทาง และจะกำกับดูแลบังคับระเบียบการจอดรถอย่างจริงจังขึ้นเมื่อมีความพร้อมแล้ว ภายใต้ความรับผิดชอบของงานเทศกิจ สำนักปลัดเทศบาลต่อไป

เทศบาลฯ ขอความร่วมมือมา ณ โอกาสนี้ และท่านสามารถฝากข้อแนะนำด้านการจราจรได้ที่ muangklang53@gmail.com

งานตักบาตรเทโวชาวแกลง ปีที่ ๔๗ สรุปประเมินผลแล้ว.. เกี่ยวก้อยร้อยใจบ้าน วัด โรงเรียน (บวร) ร่วมอนุโมทนาบุญกันสืบไป


 






ผ่านงานวันตักบาตรเทโว ปีที่ 47 วัดพลงช้างเผือกมาได้ครึ่งเดือน วานนี้คณะกรรมการจัดงานนัดหมายพร้อมเพรียงกันที่ศาลาวัดพลงเพื่อประเมินผลการจัดงานและรวบรวมข้อคิดเห็นคำแนะนำต่าง ๆ จากผู้เข้าร่วมงาน ในการนี้ ได้แถลงรายรับจากการจัดงานทั้งสิ้น 346,245 บาท รายจ่ายทั้งสิ้น 121,900 บาท หักแล้วคงเหลือ 224,345 บาท
ที่ประชุมเห็นชอบให้นำรายรับดังกล่าวมอบไว้บำรุงการศึกษาแก่โรงเรียนแกลง วิทยสถาวร และโรงเรียนวัดพลงช้างเผือก โรงเรียนละ 30,000 บาท ให้นำไปเป็นค่าจัดซื้อจัดหาหม้อแปลงไฟฟ้าแก่วัดพลงช้างเผือก 150,000 บาท และที่เหลืออีก 124,345 บาทให้ผลักเข้าสมทบกองทุนประเพณีตักบาตรเทโว วัดพลงช้างเผือกที่มีอยู่เดิมแล้วกว่าห้าแสนบาทต่อไป

เนื่องจากวัดมีการจัดสถานที่ปฏิบัติธรรมและศาลาสำหรับอบรมพระศาสนาเพิ่มขึ้น ทำให้มีการใช้กระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดปัญหากระแสไฟฟ้าไม่เพียงพออยู่เสมอ และทำให้บ้านเรือนใกล้เคียงในละแวกวัดได้รับผลกระทบจากกรณีกระแสไฟฟ้าตก หรือไฟดับอยู่เนือง ๆ เนื่องจากหม้อแปลงมีขนาด kva ไมเพียงพอ จึงได้จัดซื้อจัดหาหม้อแปลงแยกออกมาเป็นการเฉพาะเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวที่ต้องอาศัยปัจจัยถึงกว่าสองแสนบาท

ขออนุโมทนาบุญมายังผู้ที่ได้เข้าร่วมงานวันตักบาตรเทโวทุกท่านได้ทราบถึงการนำปัจจัยที่ได้ร่วมกันมาทำบุญไปใช้สอยและสะสมจำแนกตามรายละเอียดข้างต้นมา ณ โอกาสนี้ครับ

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

๓๐ เทศบาลในระยองตบเท้าประชุมตามรอบที่ปากน้ำประแส เทศบาลเจ้าบ้านพายลคลองประจำเมือง จนต้องเก็บใจกลับมาส่องอดีต ๑๒๘ ปีก่อนคราวในหลวงรัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสผ่านที่นี่

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2474761605714&set=a.1157122625563.18933.1752682292&type=1&ref=notif&notif_t=like



วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ พฤศจิกายน นี้ ชมรมสันนิบาตเทศบาล จังหวัดระยอง  นัดหมายทุกเทศบาลในจังหวัดจัดประชุมตามรอบขึ้นที่สำนักงานเทศบาลตำบลปากน้ำประแส โดยในวันนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้เทศบาลตำบลเมืองแกลงนำเสนอเนื้อหาโครงการเทศบาลมุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำ เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับพิจารณาประกอบการพัฒนาเมือง


จากนั้นนายกเทศมนตรีตำบลปากน้ำประแส (ชัยรัตน์ เอื้อตระกูล) นำคณะขึ้นเรือประมงที่ออกแบบเพื่อการท่องเที่ยวนำชมระบบนิเวศน์ของแม่น่ำประแส จากบริเวณปากน้ำวัดแหลมสน ไปถึงบริเวณปากคลองหนองโพรง ซึ่งประกอบด้วยป่าริมน่ำและวิถีชีวิตของชาวบ้านปากน่ำประแส รวมถึงชมความก้าวหน้าของงานก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำประแส เพื่อเชื่อมระหว่างบ้านเนินฆ้อ และบ้านปากน้ำประแสเข้าหากันที่จะแล้วเสร็จในปลายปี ๒๕๕๖ ที่จะถึงนี้

ระหว่างการท่องแม่น้ำประแสที่ยังพอจะได้เห็นความสมดุลย์ในการดำรงอยู่ของสิ่งต่าง ๆ ทำให้อดระลึกถึงเหตุการณ์ในคราวที่ในหลวง รัชกาลที่ ๕ เสด็จประพาสหัวเมืองชายฝั่งตะวันออกเมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๗ หรือเมื่อ ๑๒๘ ปีที่ผ่านมา ที่เรือพระที่นั่งได้มาทอดอยู่ ณ บริเวณปากแม่น้ำประแส ท่านได้มีพระราชหัตถเลขาเล่าเรื่องเมืองพแสไว้อย่างทรงคุณค่า ดังบทคัดย่อในภาพข้างต้น ที่อยากหวังใจให้ชาวปากน้ำประแสได้ร่วมกันพิทักษ์รักษาบ้านเมืองเอาไว้อย่างภาคภูมิใจ ให้ประแสยังเป็นของคนประแสและของคนที่ตระหนักและเข้าใจรากแห่งที่มาไว้ตลอดไปครับ

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เตรียมจบงานพัฒนากายภาพพื้นที่แปรของเสียให้ไม่เสียของ ณ ศูนย์การเรียนรู้ฯ ..เน้นผู้อยู่ทำงานมีความสุขเป็นสำคัญ

๑. โรงฆ่าสัตว์ ที่เปิดทกำกิจการมาแต่ครั้ง้ป็นสุขาภิบาลกระทั่งบัดนี้ อยู่ในพื้นที่เดียวกับอาคารป้องกันฯ ( ดับเพลิง) ถนนสุนทรภู่ กำลังผรับปรุงให้ถูกหลักสุขาภิบาลมากยิ่งขึ้น ปัจจุบันใช้ชำแหละแต่เพียงสุกรเท่านั้น โดยที่ยังเป็นระบบเดิมคือเมื่อเชือดแล้วนำขึ้นลวกด้วยน้ำต้มร้อนบนกะทะใบลานจำนวน ๔ หัวเตาก่อนชำแหลพะ ความร้อนที่ใช้ต้มน้ำมาจากพลังงานของแก๊สชีวภาพ จากเดิมที่ต้องซื้อฟืนเป็นเชื้อเพลิงต้มน้ำร้อนปีละนับแสนบาท....พื้นที่ในนี้ส่วนหนึ่งยังใช้ทำไขมันอัดก้อนซึ่งเทศบาลฯ ออกจัดเก็บจากร้านอาหารต่าง ๆ ตามกำหนดเพื่อมิให้กากไขมันเหล่านี้ไหลลงท่อระบายน้ำ ก่อนไหลไปคลองในที่สุด ไขมันอัดก้อนเป็นอีกแหล่งพลังงานทางเลือกหนึ่งที่แปรสภาพจากของเสียให้เป็นพลังงานความร้อน

๒. เส้นทางจากของเสียที่ถูกแปรสภาพเป็นของดี...จากขยะอินทรีย์ทเศษอาหาร เศษผักผลไม้ที่เกิดขึ้นทุกวันในระบบเมือง เทศบาลฯ กำหนดนีดกับเจ้าของแหล่งกำเนิดของเสียตามจุดต่าง ๆ ออกเก็บมาเลี้ยงสัตว์หลายชนิด จากเล็กที่สุดอย่างจุลินทรีย์ทเรื่อยมาถึงไส้เดือน เป็ด หมู แพะ กระต่าย วัว  สำหรับหมู เทศบาลกักเก็บทุกอย่างจากคอกไปผลิตแก๊สชีวภาพ ก่อนจะนำน้ำที่เหลือไปจำหน่ายในรูปของปุ๋ย  ปุ๋ยเหล่านี้นำไปใช้ในกิจการต้นไม้ของเทศบาลฯ ทั้งเมือง ที่เหลือนำออกจำหน่ายแก่เกษตรกร เพื่อบำรุงดินสร้างผลผลิตอาหารกลับเข้าเมืองต่อไป

๓. ดเวยความที่อยู่ในเขตชุมชนเมืองบนเนื้อที่เกือบ ๘ ไร่ซึ่งมีทั้งอาคารจอดรถดับเพลิง โรงจอดยานพาหนะ โรงผลิตน้ำประปา โรงผลิตแก๊สขีวภาพ โรงฆ่าสัตว์ โรงเลี้ยงไส้เดือน โรงผลิตน้ำจุลินทรีย์ โรงเพาะเห็ด โรงคัดแยกขยะ โรงเรือนเพาะชำกล้าไม้ โรงเลี้ยงสัตว์ ...ได้ถูกออกแบบจัดวางให้เกิดความลงตัวเหมาะสมเรื่อยมาเพื่อการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อทุ่นรายจ่ายในการบริหารจัดการลงได้ และส่วนสำคัญของการออกแบบพื้นที่คือการกันพื้นที่ร่มเงาไว้เป็นพื้นที่กลาง ปกคลุมด้วยต้นจามจุรี และยางนา เพื่อปรับอุณหภูมิโดยรอบให้เย็นลง และคนที่เกี่ยวข้องได้สามารถเข้าไปอาศัยรมไม้ใบบังได้  ไม่นับรวมรอบบริเวณต่าง ๆ ที่มีการปลูกทั้งไม้ยืนต้น และไม้สำหรับรับประทานกระจายอยู่ทั่วไป เป็นวงจรการออกแบบการใช้ที่ดินที่สอดประสานและสะดวกสบายสำหรับการทำงานได้เป็นอย่างดี






 


I blog with BE Write

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ลานบ้านก๋ง เมืองแกลงพร้อมเต็มกำลังรับการประชุม "เทศบาล..สู่เมืองคาร์บอนต่ำ" ร่วมกับสมาคมสันนิบาตฯ ให้กับกว่า ๑๖๐ เทศบาล ๑๒ ถึง ๑๕ พ.ย.นี้แล้ว



  
วันศุกร์ที่ ๙ พฤศจิกายนนี้ ผู้แทนจากสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ลงพื้นที่เมืองแกลงร่วมประชุมกับเทศบาลฯ ซักซ้อมเตรียมความพร้อมการจัดประชุมสัมนา "เทศบาล..มุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำ" ระหว่างวันจันทร์ที่ ๑๒ ถึงวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ นี้ ที่โรงแรมระยองรีสอร์ท โดยสมาคมฯ ขอใช้เมืองแกลงเป็นพื้นที่ต้นแบบในโครงการดังกล่าว ให้กับผู้แทนกว่า ๑๖๐ เทศบาลทั่วประเทศ

ประเด็นสำคัญคือการประชุมโต๊ะกลม ( round table) เฉพาะนายกเทศมนตรีในบ่ายวันที่ ๑๒ นี้เพื่อวางแผนร่วมกันเป็นการภายในเพื่อหาหนทางขับเคลื่อนงาน ขจัดปัญหาที่คาดว่ายะเกิดขึ้นระหว่างการทำโครงการ โดยเฉพาะอุปสรรคที่เกิดจากตัวโครงสร้างการบริหารงานของเทศบาลเสียเองให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งมีนายวิจัย อมราลิขิต นายกเทศมนตรีเมืองพนัสนิคม และดร.จำเนียร วรรัตน์ชัยพันธ์ จากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เป็นผู้นำการประชุมหารือ

ส่วนการอบรมและลงพื้นที่เมืองแกลง จะมีขึ้นในวันที่ ๑๓ ๑๔ นี้เพื่อศึกษากิจกรรมการดำเนินงานตามภารกิจหน้าที่ในกิจวัตรชีวิตจริงของเมืองแกลง ก่อนที่จะไปรวมกลุ่มสรุปประเด็นพร้อมตอบคำถามแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ข้อคิดเห็น ข้อสังเกต ข้อเสนอแนะกัน ณ ลานบ้านก๋งซึ่งใกล้จะปรุงโฉมเป็นศูนย์การเรียนรู้เรื่องภาวะโลกร้อนในอีกไม่บ้านานนี้

เทศบาลฯ จัดเตรียมบุคลากรเข้าร่วมและเข้าสนับสนุนงานเผยแผ่เรียนรู้นี้เต็มกำลัง และขอเชิญชาวเมืองแกลงผู้สนใจเข้าร่วมงาน หรือติดตามความเคลื่อนไหวตลอดสี่วันนี้ได้ในทุกช่องทางสื่อของเทศบาลฯ ต่อไป


I blog with BE Write

ลานบ้านก๋ง เมืองแกลงพร้อมเต็มกำลังมรับการประชุม "เทศบาล..สู่เมืองคาร์บอนต่ำ" ให้กับสมาคมสันนิบาตเทศบาลฯ แก่กว่า ๑๖๐ เทศบาล ๑๒ ถึง๑๕ พ.ย.นี้แล้ว



  
วันศุกร์ที่ ๙ พฤศจิกายนนี้ ผู้แทนจากสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ลงพื้นที่เมืองแกลงร่วมประชุมกับเทศบาลฯ ซักซ้อมเตรียมความพร้อมการจัดประชุมสัมนา "เทศบาล..มุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำ" ระหว่างวันจันทร์ที่ ๑๒ ถึงวันพฤหัสบดีที่ ๑๕ นี้ ที่โรงแรมระยองรีสอร์ท โดยสมาคมฯ ขอใช้เมืองแกลงเป็นพื้นที่ต้นแบบในโครงการดังกล่าว ให้กับผู้แทนกว่า ๑๖๐ เทศบาลทั่วประเทศ

ประเด็นสำคัญคือการประชุมโต๊ะกลม ( round table) เฉพาะนายกเทศมนตรีในบ่ายวันที่ ๑๒ นี้เพื่อวางแผนร่วมกันเป็นการภายในเพื่อหาหนทางขับเคลื่อนงาน ขจัดปัญหาที่คาดว่ายะเกิดขึ้นระหว่างการทำโครงการ โดยเฉพาะอุปสรรคที่เกิดจากตัวโครงสร้างการบริหารงานของเทศบาลเสียเองให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งมีนายวิจัย อมราลิขิต นายกเทศมนตรีเมืองพนัสนิคม และดร.จำเนียร วรรัตน์ชัยพันธ์ จากสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เป็นผู้นำการประชุมหารือ

ส่วนการอบรมและลงพื้นที่เมืองแกลง จะมีขึ้นในวันที่ ๑๓ ๑๔ นี้เพื่อศึกษากิจกรรมการดำเนินงานตามภารกิจหน้าที่ในกิจวัตรชีวิตจริงของเมืองแกลง ก่อนที่จะไปรวมกลุ่มสรุปประเด็นพร้อมตอบคำถามแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ข้อคิดเห็น ข้อสังเกต ข้อเสนอแนะกัน ณ ลานบ้านก๋งซึ่งใกล้จะปรุงโฉมเป็นศูนย์การเรียนรู้เรื่องภาวะโลกร้อนในอีกไม่บ้านานนี้

เทศบาลฯ จัดเตรียมบุคลากรเข้าร่วมและเข้าสนับสนุนงานเผยแผ่เรียนรู้นี้เต็มกำลัง และขอเชิญชาวเมืองแกลงผู้สนใจเข้าร่วมงาน หรือติดตามความเคลื่อนไหวตลอดสี่วันนี้ได้ในทุกช่องทางสื่อของเทศบาลฯ ต่อไป


I blog with BE Write