นาทีแรก ๆ ที่มาถึงแนวชายคลอง.. กันเสียที |
เทคโนโลยีจีพีเอสกลายเป็น เครื่องมือแสนธรรมดา |
เมื่อเทศบาลตำบลเมืองแกลง ได้มีการรวบรวมข้อมูลมาประมวลและประเมินผล คาดการณ์ปัญหาการเดินทางที่ไม่สะดวกคล่องตัวซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งอันเป็นบ่อเกิดของความไม่น่าอยู่แล้ว จึงกำหนดให้การเพิ่มเชื่อมเส้นทางระหว่าง ถนนพลงช้างเผือกซอย ๓ ไปยังถนนแหลมยาง บริเวณโค้งบ้านยายนาง ด้วยการก่อสร้างสะพานข้ามคลองที่แหลมท่าตะเคียน เป็นยุทธศาสตร์สำคัญหนึ่งที่จะช่วยให้การจราจรและการเดินทางในเขตเมืองแกลงมีความสะดวกคล่องตัวได้อีกช่องทางหนึ่ง
ชมวีดีโอการสำรวจเพลิน ๆ ที่...http://www.youtube.com/watch?v=meVLfVz2kdc
เส้นทางเดินสำรวจ |
สภาพพื้นที่ที่เข้าสำรวจด้วยการเดินเท้า |
และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๖ กรกฎาคมที่่ผ่านมา เวลา ๑๖ นาฬิกา นายกเทศมนตรี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กองช่างรวม ๘ คนจึงได้ออกเดินทางไปยังที่ดินฝั่งทิศตะวันออกของคลองประแส ซึ่งมีผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งอยู่ จากนั้นได้เดินเท้าแผ้วถางป่าเพื่อเข้าหา
ชายฝั่งคลองทางด้านนี้ ซึ่งเคยมีความพยายามที่จะเข้าไปให้ถึงฝั่งคลองมาแล้วหนหนึ่ง แต่คราวนั้น ขาดเครื่องมือที่จะแผ้วถางพื้นที่รกชัฎ แต่สำหรับครั้งนี้ได้เตรียมพร้อมกับการเดินเท้า ซึ่งมีระยะทางประมาณ ๕๐๐ เมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๒๐ นาที พบว่า สภาพพื้นเดิมเป็นดินที่ขุดขึ้นมาจากพื้นดินเดิมเพื่อถม แต่เนื่องจากไม่มีการใช้งานมานาน จึงมีสภาพรกร้าง ต้องแผ้วทางเป็นทางพอเป็นช่องเดินเรียงเป็นแถวไปจนถึงแนวชายคลอง โดยอาศัยเครื่องจีพีเอส จากโทรศัพท์มือถือ เป็นเครื่องนำทาง กระทั่งมาพบคลอง จึงได้แผ้วทางแนวชายคลองให้โล่งแล้วทำเป็นสัญลักษณ์ไว้ ซึ่งตำแหน่งดังกล่าว สามารถมองเห็นบ้านป้าหนูซึ่งอยู่ฝั่งคลองด้านทิศตะวันตกที่แหลมท่าตะเคียน เยื้องค่อนไปทางด้านทิศใต้
สภาพป่ารกบางช่วงของเส้นทางสำรวจ |
หากโครงการดังกล่าว สามารถดำเนินการได้ จะยังประโยชน์ให้เกิดกับการเดินทางแก่คนในระบบโรงเรียนและระบบโรงงานย่านชุมชนพลงช้่างเผือกซึ่งมีการไหลเวียนเข้าออกย่านนี้ถึงวันละไม่น้อยกว่า ๘๐๐๐ คน ให้สามารถระบายการจราจรและการเดินทางโดยไม่ต้องไหลเข้าเขตเมืองชั้นในได้มากพอสมควร รวมถึงการเดินทางไปโรงพยาบาลแกลง หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจก็สามารถที่จะเดินทางมาย่านนี้ได้สะดวกรวดเร็วขึ้นโดยไม่ต้องพึ่งพาทางหลวงแผ่นดินอย่างถนนสุขุมวิท หรือเข้าไปติดขัดกันในเขตเมืองชั้นในอีกต่อไป ทั้งนี้ ในการออกแบบเส้นทางดังกล่าว ยังต้องคงแนวคิดการเดินทางด้วยระบบรถร่วมบริการของเทศบาล เช่นรถขสมก. ที่ให้บริการอยู่ขณะนี้ไว้ให้ได้รับความสะดวกสบายเสมอด้วยการเดินทางด้วยยานยนต์ส่วนตัวควบคู่กันไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
เนื่องจากบล็อกนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องราวการดำเนินงานของเทศบาล โปรดให้ข้อสังเกต คำแนะนำ หรือเติมเต็มองค์ความรู้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเมืองต่อไป