เมื่อวันที่ ๑๗ เมษยนนี้ สมคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้มีหนังสือแจ้งมายังสำนักงานเทศบาลตำบลเมืองแกล ได้ทราบว่า สมาคมฯ ได้เข้ามาสำรวจประเมินงานอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมในเขตเทศบาลฯ เมืองแกลง พร้อมกับอีกหลายพื้นที่ทั่วประเทศ คณะกรรมการได้แจ้งผลการประเมินให้เทศบาลฯ ได้รับรางสัล "อนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๕" ในประเภท "ชุมชนพื้นถิ่น" จากทางสมาคม โดยกำหนดการเข้ารับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีนั้น สมาคมฯ จะแจ้งให้ทราบต่อไป
ทั้งนี้ เทศบาลฯ ได้มีการเสนอหลักคิดต่องานด้านการอนุรักษ์ต่าง ๆ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ที่ต้องมีองค์ประกอบครบด้าน ทั้งงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางศิลปกรรม ด้านอาคารบ้านเรือนเดิม โดยเฉพาะบริเวณบ้านตลาดสามย่าน ถนนสุนทรโวหาร อาคารโรงพักเก่าที่ปรับปรุงก่อสร้างขึ้นใหม่แต่คงเค้าโครงเดิมและรังสรรค์ให้งดงามเหมาะสมแก่ยุคสมัยในรูปของหอประวัติเมืองแกลง งานปรับปรุงก่อสร้างสะพานข้ามคลองประแส บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอแกลงหลังเก่า ให้มีลักษณะเฉพาะตัว เพิ่มร่องรอยเรื่องราวลวดลายงานศิลปกรรมต่าง ๆ ไว้สองฝั่งสะพานพร้อมภาพถ่ายสะพานเดิมแต่ปี พ.ศ.๒๔๖๖ ที่หมายให้ได้ชื่อว่าเป็น "สะพานเล่าเมือง" งานการออกแบบเส้นทางและการเดินทางด้วยรถขสมก. ที่สะท้อนเรื่องราวให้เรียนรู้มิติต่าง ๆ ของเมืองได้ที่ตัวรถ งานก่อสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ ณ สนามกีฬาฯ ที่เริ่มจากภาพถ่ายเก่าขนาด ๒ นิ้วเพียงภาพเดียว จนกระทั่งสามารถค้นหารวบรวมเรียบเรียงเรื่องราวงานปั้นของปูชนียบุคคลแห่งกรมศิลปากร อย่างศาตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เอาไว้ได้ ที่นับเป็นการตอบคำถามที่วนเวียนอยู่ไปมานานถึงกว่าห้าสิบปี ตามบันทึกของนายเสวต เปี่ยมพงศ์ศานต์ เมื่อปี พ-ศ-๒๔๙๘ ที่ว่า "...ทั้งชาวเมืองแกลง และชาวเมืองอื่น เมื่อได้มาชมโมเดลจำลองนี้ ต่างก็ถามกันว่า.....สักเมื่อใด จึงจะได้สร้างให้เห็นเป็นของจริง.."
นอกจากนี้ ยังนำเสนอแนวคิดงานด้านการอนุรักษ์ที่ต้องครอบคลุมถึงเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ด้านศิลปวัมนธรรมประเพณีพื้นถิ่นอย่างเทศกาลกินเจ และตักบาตรเทโว รวมถึงแนวคิดที่สามารถรังสรรค์งานด้านวัฒนธรรมประเพณีขึ้นมาใหม่ แต่ทำให้สอดคล้องกับยุคสมัยในปัจจุบัน อย่างงานบุญกลางบ้าน โดยไม่จำต้องอนุรักษ์แต่ของเก่าแต่เพียงฝ่ายเดียว เพราะทำขึ้นวันนี้ พรุ่งนี้ก็กลายเป็นอดีตแล้ว
และเมื่อประมวลโดยภาพรวมแล้ว โดยเหตุที่เมืองแกลง เป็นชุมชนพื้นถิ่นที่มีชีวิตได้อย่าง "เมืองพึ่งพาตนเอง" โดยมิต้องอาศัยการบ่มเบ่งหรือสนับสนุนจากภาคส่วนราชการใด ๆ ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตได้โดยปกติสุข มีวงจรเศรษฐกิจการค้าที่เกื้อกูลระหว่างกันของผู้คนในพื้นถิ่นในแต่ละแขนงอาชีพ เหล่านี้ จึงเป็นผลงานที่สมาคมสถาปนิกสยามได้มอบรางวัลให้เพื่อประกาศเกียรติคุณส่งเสริมสนับสนุนเป็นกำลังใจแก่ชาวเมืองแกลงในโอกาสนี้
posted from Bloggeroid
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
เนื่องจากบล็อกนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องราวการดำเนินงานของเทศบาล โปรดให้ข้อสังเกต คำแนะนำ หรือเติมเต็มองค์ความรู้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเมืองต่อไป