เปลือกทุเรียน เปลือกขนุน ทั้งแข็ง ทั้งหนา |
ในแต่ละปี ฤดูทุเรียนออกสู่ตลาด จะออกไล่ ๆ กับลองกอง มังคุด เงาะ ด้วยเหตุดังกล่าว จึงมีผลไม้ให้เลือกในเวลาเดียวกันอยู่หลายชนิด...ตลาดจึงดูเหมือนจะเป็นของพ่อค้าแม่่ค้า และผู้ซื้อไปโดยปริยาย ราคาตกกันเป็นประจำ
ผลไม้ข้างต้น ดูแลกันทั้งปี รดน้ำให้ปุ๋ยกันทั้งปี แต่ได้ขายกันอยู่ไม่เกินสองถึงสามเดือน...เวลาซื้อเขาชั่งน้ำหนักรวมเปลือกไปด้วย ก็เพราะมันต้องดูแลกันมารวมทั้งหมดไม่สามารถแยกได้....
เปลือกมะพร้าวทั้งลูก และเปลือกอื่น ๆ เปลี่ยนสภาพหลังบดย่อยแล้ว |
ขั้นตอนจากเปลือกสู่กากที่บดย่อยแล้ว มีสองทางเลือก...ทำปุ๋ยหมักกับทำแก๊ส |
เปลือกที่บดย่อยแล้ว ใส่น้ำผสมมากและน้อยระหว่างบดย่อย สีที่ออกมาจะต่างกันเห็นได้ชัด |
ที่สุดแล้วจึงนำเจ้าผลไม้เปลือกแข็งเหล่านี้ ทั้งเปลือกทุเรียน ขนุน ลองกอง มะพร้าว เข้าเครื่องบดที่มีใบตีที่ทั้งใหญ่ หนา มีน้ำหนัก และคมมาก เพื่อให้มีความละเอียดย่อยสลายได้ง่ายขึ้น ผลการนำเข้าสู่เครื่องย่อยพบว่า...
ลักษณะเปลือกที่บดย่อยแล้ว มีทั้งเศษผลไม้ และกากใย |
กระบวนการระหว่างย่อย ต้องอาศัย "น้ำ" เป็นตัวช่วยลดความหนืดเหนียว เพราะเปลือกทุเรียน ขนุนมีส่วนผสมหลักเป็นแป้งและน้ำตาล หากใส่น้ำมากจะทำให้บดย่อยดีขึ้น แต่จะเพิ่มน้ำหนักและทำให้กากแห้งช้าลง (สีและลักษณะการจับตัวของเศษที่บดย่อยออกมา ระหว่างให้น้ำมาก และน้ำน้อยจะต่างกันเห็นได้ชัด)
ขอประเมินจากการหารือร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ว่า ระหว่างนำเศษเปลือกผลไม้ที่บดย่อยนี้ไปหมักทำไบโอแก๊ส กับไปทำปุ๋ยหมัก น่าจะเหมาะกับการทำปุ๋ยหมักมากกว่า เพราะมีกากใยที่จำไปช่วยทำให้ดินมีสภาพร่วนซุยมีรูอากาศเพิ่มได้ แต่หากนำไปทำแก๊ส การบูดเน่าจากเปลือกเหล่านี้น่าจะได้แก๊สมีเทนในปริมาณน้อยกว่าการหมักด้วยเศษอาหารเศษผัก
หน้าตาเครื่องบดย่อยผลไม้เปลือกแข็ง |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
เนื่องจากบล็อกนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องราวการดำเนินงานของเทศบาล โปรดให้ข้อสังเกต คำแนะนำ หรือเติมเต็มองค์ความรู้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเมืองต่อไป