โปรดทราบ

ร่วมแจ้งข่าวสารต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน "เมืองแกลงนิวส์" ได้ที่ muangklangnews@gmail.com เพื่อที่กองบรรณาธิการข่าวจะได้พิจารณานำเผยแพร่ต่อไป

วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สำนักนโยบายและแผน กระทรวงทรัพฯ จับมือ IGES จากญี่ปุ่น ดันเมืองแกลงนำร่อง Asean Environmentally Sustainable Cities Programme

       อนุสนธิจากการที่สำนักนโยบายและแผน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมกับ Institure for Global and Environmental Strategies (www.iges.or.jp) จากประเทศญี่ปุ่นได้จัดทำโครงการ Asean Environmentally Sustainable cities (ESC Programme) หรือ โครงการเมืองต้นแบบสิ่งแวดล้อมยั่งยืนขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ และได้พิจารณาคัดเลือก เทศบาลนครพิษณุโลก เทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน และเทศบาลตำบลเมืองแกลง เป็นเมืองต้นแบบในโครงการดังกล่าว โดยได้ประสานงานและจัดสรรงบประมาณแก่เทศบาลทั้ง ๓ แห่งเพื่อให้นำงบประมาณนี้ไปขยายผลสร้่างเครือข่ายการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อเมืองน่าอยู่ ซึ่งในส่วนเทศบาลตำบลเมืองแกลงได้รับการสนับสนุนงบประมาณในวงเงินประมาณ ๓๔๐,๐๐๐ บาท
(For more pic.) https://picasaweb.google.com/109098576067590950184/152011

      ทั้งนี้ เทศบาลตำบลเมืองแกลง ได้จัดทำโครงการฝึกอบรมผ่านศูนย์การเรียนรู้ การจัดการเมืองและสิ่งแวดล้อม ประจำภาคตะวันออก (Eastern Regional Coordinating Center on Urban and Environmental Management) จำนวนรวม ๕ รุ่น ระหว่างวันที่ ๑๔ วันที่ ๑๙ วันที่ ๒๖ ธันวาคม และวันที่ ๔ และวันที่ ๑๖ มกราคมศกหน้า รุ่นละ ๒ ถึง ๓ วัน โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือเยาวชน ประชาชนในพื้นที่ และผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ ที่มีความสนใจ ซึ่งขณะนี้ได้แจ้งความประสงค์เ้ข้ารับการอบรมแล้วจำนวนมาก


              การอบรมมุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจพื้นฐานสิ่งแวดล้อมประจำพื้นที่ตั้งของเมือง ความเข้าใจเรื่องราวในหลากหลายมิติของกระบวนเมืองซึ่งมีความหลากหลายในการประกอบอาชีพที่ต้องพึ่งพิงทรัพยากรธรรมชาติอย่างดิน น้ำและฤดูกาลที่มีความเหมาะสม นอกจากนี้ยังจัดให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ลงพื้นที่ดูการดำเนินงานจริงทั้งจากกลุ่มอาชีพที่มีอยู่ในพื้นที่อย่างเช่น การทำนา การปลูกผัก การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่พึ่งพาน้ำดิบจากแ่ม่น้ำ รวมถึงการจัดการเมืองของเทศบาลตำบลเมืองแกลง ที่มุ่งเน้นการใช้ภารกิจประจำวันในบริบทงานของเทศบาลในการลดภาวะโลกร้อน อาทิ มิติการจัดการพื้นที่โล่ง (Green and open space area) มิติของการลดการปลดปล่อยคาร์บอนด้านการขนส่งและการใช้ไฟฟ้า (Cabon emission and methodology for mitigation and adaptation) มิติด้านความมั่นคงทางอาหารของเมือง (Urban agriculture Campaign) และ มิติด้านการจัดการของเสีย ( Waste management) ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญคือความผาสุกของพี่น้องประชาชน


       ทั้งนี้ การจัดอบรมรอบที่ ๑ ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว โดยมีกลุ่มเป้าหมายแรกคือนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ๕ และ ๖ กว่า ๗๐ คน ซึ่งเป็นตัวแทนจากโรงเรียนแกลง วิทยสถาวร ซึ่งนายกเทศมนตรีได้มอบหมายกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ดำเนินการจัดฝึกอบรมและให้มีการตรวจประเมินผลการอบรมทั้งในรูปของการทอดแบบสอบถามความคิดเห็น และการบรรยายผลการอบรมในรูปของการเขียนเรียงความส่งกลับมาที่เทศบาล รวมถึงสร้างเครือข่ายช่องทางการสื่อสารสถานการณ์ข่าวสารบ้านเมืองผ่านระบบจดหมายอีเลคทรอนิคส์ (E-mail)ในอนาคตต่อไป

       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

เนื่องจากบล็อกนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องราวการดำเนินงานของเทศบาล โปรดให้ข้อสังเกต คำแนะนำ หรือเติมเต็มองค์ความรู้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเมืองต่อไป