วันศุกร์ที่ ๑๗ นัดหารือทั้งเช้าบ่าย ทั้งฟากคนมาขาย และฝ่ายคนจัดตลาด หวังช่วยกันคงรักษาบรรยากาศไว้ดังนี้
ภาพที่ ๑ เป็นที่นัดพบฉันคนบ้านเดียวกัน ส่งยิ้มรับยิ้มผูกมิตรไมตรีแก่กัน
ของปลูก (พืชผักผลไม้) ที่วางขาย... ขอให้ปลูกกันในพื้นที่ อย่าปลูกแบบเน้นปริมาณ...ให้น้ำ ให้ปุ๋ย ใส่ความรักแก่คนซื้อไปรับประทานโดยทำให้ของนั้น สด สะอาด ปลอดภัย
ของปรุง...ให้เป็น เสน่ห์ปลายจวัก หรือ เอมอิ่มรสมือนาง หรือ มีเรื่องราวความเป็นมาแต่เก่าก่อน
ภาพที่ ๒ ที่ต้องมีตลาดนัดสีเขียวเพราะ...
เราปลูกพืชพลังงานอย่างยางพารากันมาก (70%ของพื้นที่เพาะปลูก) อีกทั้งปาล์มน้ำมันก็กำลังเริ่มบูม
เราปลูกผลไม้ถึง 29% ของพื้นที่เพาะปลูก
เราปลูกข้าวที่ต้องกินทุกวันเพียง 1% ของพื้นที่เพาะปลูก มิพักต้องพูดถึงผักที่หาพื้นที่ปลูกแทบไม่เจอ
สรุปรวมความ คือ เราต้องพึ่งพาข้าวปลาอาหารจากพื้นที่อื่นแทบทั้งสิ้น ตลาดนัดสีเขียวน่าจะกระตุ้นสัดส่วนการปลูกพืชผักตรงนี้ให้เพิ่มขึ้นได้
ภาพที่ ๓ เงินทองจากการซื้อขาย สำคัญรองลงมาจากไมตรีที่มีต่อกัน
เทศบาลฯ ไม่มีความประสงค์ทำตลาดนัดนี้เป็นธุรกิจ
แต่ปรารถนาให้ตลาดเป็นหน่วยสำคัญช่วยกระตุ้นให้ชาวเราปลูกข้าว พืช ผัก ผลไม้ในพื้นถิ่นกันเพิ่มขึ้น ให้แกลงมีความมั่นคงด้านข้าวปลาอาหารเพิ่มขึ้น
ขอสงวนสิทธิ์พิจารณาไม่เก็บค่าตลาดค่าวางขาย เพราะตั้งใจเชิญชวนให้มาร่วมกันเป็นผู้ให้มากกว่าเป็นผู้รับ
ภาพที่ ๔ ตลาดนัดสีเขียวนี้ นับเป็นหน่วยเล็กที่สุดที่อยู่ในพื้นที่ตั้งของโรงเรียนอยู่เมืองแกลงวิทยา ที่สนามกีฬาฯ ของเทศบาลฯ ....
การยกตลาดมาไว้ในโรงเรียน ไม่ใช่เรื่องแปลกพิกล ก็เหมือนมีร้านกาแฟ ร้านสะดวกซื้อในปั๊มน้ำมันนั่นเอง... แต่นักเรียนจะได้เห็นได้ชิดใกล้ตลาดชีวิตจริงของสังคม เห็นการทำมาค้าขาย เห็นและรู้จักวัตถุดิบต่าง ๆ ที่วางขาย...
ขอเป็นโรงเรียนที่พี่ป้าน้าอาสามารถเข้าไปใข้ประโยชน์ในสถานที่มากกว่าใช้จัดการเรียนการสอนด้วยเถิด....
และขอเราไปพบกันที่ตลาดด้วยความเกรงใจให้เกียรติแก่สถานที่ ด้วยเพราะมีเราทุกคนร่วมกันเป็นเจ้าของ....
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
เนื่องจากบล็อกนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องราวการดำเนินงานของเทศบาล โปรดให้ข้อสังเกต คำแนะนำ หรือเติมเต็มองค์ความรู้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเมืองต่อไป