ภาพที่ ๑
ภาพที่๑.อ่างเก็บน้ำประแส อยู่ในเขตอำเภอวังจันทร์ ห่างจากอำเภอแกลงขึ้นไปทางทิศเหนือประมาณ ๒๓ กิโลเมตร เปิดใช้เมื่อราวปี พ.ศ.๒๕๔๕ มีความยาวสันเขื่อน ๒,๕๐๐ เมตร กักเก็บน้ำได้ ๒๔๘ ล้านลูกบาศก์เมตร และมีความสามารถรองรับน้ำได้สูงสุดได้ ๓๒๒ ล้านลูกบาศก์เมตร เหนืออ่างขึ้นไปมีคลองพลู ในเขตอำเภอหนองใหญ่ ชลบุรี และมือคลองน้อยใหญ่เป็นต้นน้ำไหลมารวมกันที่อ่างเก็บน้ำนี้ ด้านทิศตะวันออกค่อนมาทางใต้ของอ่าง แลเห็นเขาชะเมา และถัดขึ้นไปเป็นแนวเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ที่กินพื้นที่ถึง ๕ จังหวัด คือ ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา จันทบุรี สระแก้ว เป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำประแสภาพที่ ๒ |
....ในคราวเดือนกันยายนต่อเนื่องตุลาคม ๒๕๕๔ ที่มีปริมาณน้ำมาก จึงปรากฏมีน้ำเอ่อล้นตลิ่งขึ้นมาท่วมในบริเวณตำบลวังหว้าด้านทิศใต้ ตำบลบ้านนา ตำบลทางเกวียน ตำบลทุ่งควายกินด้วยเหตุธรณีสัณฐานเป็นที่ลุ่มนั่นเอง
ภาพที่ ๓ |
ภาพนี้ถอดแผนที่จากภาพที่ ๓ เป็นภาพลายเส้น ช่วยเพิ่มความเข้าใจ |
ใต้สันเขื่อนตามแบบมาตรฐาน (จุดที่ ๑) นอกจากนี้เมื่อน้ำเหนือเขื่อนมีปริมาณมากกว่าที่จะกักเก็บได้ ก็จะมีช่องสปินเวย์ทั้งสองด้านของสันเขื่อนระบายน้ำล้นออกตรงนี้ (จุดที่ ๒) ซึ่งกรณีนี้จะไม่สามารถควบคุมการไหลของน้ำที่ล้นออกทางสปินเวย์ได้เลย
สำหรับน้ำจากคลองสะพาน (จุดที่ ๓) เกิดจากมือคลองด้านทิศตะวันตกใต้อ่างเก็บน้ำประแส ซึ่งรับน้ำจากพื้นที่ราว ๕๐๐ ตารางกิโลเมตร มาสมทบกับน้ำที่ปล่อยจากอ่างเก็บน้ำประแส ซึ่งน้ำจากคลองสะพานนี้ มีปริมาณมากน้อยขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ และไม่สามารถควบคุมกำกับการระบายน้ำจากที่นี่ได้ เพียงแต่จุดที่มาสมทบกับคลองหลักนี้ ยังอยู่เหนือจุดวัดปริมาณน้ำ Z.11 ที่เขาวังจิกขึ้นไป (จุดที่ ๔) จึงสามารถตรวจวัดปริมาณน้ำก่อนที่จะมุ่งไปสู่ตำบลบ้านนาและตำบลทางเกวียนได้
ด้านทิศใต้ของจุดวัดปริมาณน้ำ Z.11 ยังมีมือคลองอยู่อีกคือ น้ำจากคลองใช้ไหลผ่านข้างที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลทางเกวียนรอดถนนบ้านบึง แกลงไปรวมกับคลองประแส
เหล่านี้ จึงเป็นแหล่งที่มาของน้ำในคลองประแสซึ่งมีผลต่อปริมาณน้ำคลองในเขตตำบลบ้านนา ทางเกวียน ทุ่งควายกิน วังหว้า
ภาพที่ ๔ |
ภาพที่ ๔. ตรงไหนที่ได้รับผลกระทบกรณีน้ำล้นตลิ่ง..
เมื่อน้ำล้นตลิ่งเอ่อขึ้นจากสองฝั่งคลองในพื้นที่สี่ตำบลดังกล่าวแล้ว ที่ได้รับผลกระทบก่อนคือ เขตพื้นที่ทางทิศเหนือ คือตำบลบ้านนาที่บริเวณหมู่ ๑ ย่านโรงเรียนมกุฎเมืองราชวิทยาลัย หมู่ ๔ หลังวัดหนองจรเข้เรื่อยมาถึงเขตหมู่ ๑ หมู่ ๑๐ หน้าปากทางเข้าวัดหนองจรเข้ไปถึงย่านบ้านล่าง
ส่วนในเขตเทศบาลตำบลเมืองแกลง ได้รับผลกระทบจากกรณีเดียวกันที่บ้านบนเนิน โรงเรียนและวัดโพธิ์ทองพุทธาราม บ้านดอนเค็ดในเขตชุมชนวัดโพธิ์ทองฯ บริเวณท้องนาและบ่อกุ้งซอยดอนมะกอก ส่วนทางฝั่งด้านทิศใต้ถนนสุขุมวิท มีซอยโรงเลื่อย ซอยหนองปรือหลังสภ.แกลง ในเขตชุมชนดอนมะกอก และน้ำจะไหลไปลงคลองจุดสุดท้ายที่โค้งยายนางด้านทิศใต้ในเขตชุมชนบ้านแหลมยาง
นอกจากนี้ ยังมบริเวณสะพานซอยท่ายายบุญ บ้านบเนิน (ลมโชย) สะพาน ๑๐๐ ปีบ้านตลาดสามย่าน ซอยฝั่งธน ซอยท่าน้ำศาลาต้นโพธิ์ ซึ่งบริเวณทั้งหลายนี้ล้วนมีที่ตั้งริมฝั่งคลองประแสทั้งสิ้น แต่น้ำจะบ่าล้นขึ้นมามากน้อยเพียงใดและไกลแค่ไหน ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำในคลองเป็นสำคัญ
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบนอกจากนี้ ยังมีบริเวณวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา บ้านหนองน้ำขุ่น ซึ่งได้รับผลกระทบจากคลองหนองน้ำขุ่น พื้นที่บริเวณสำนักงานเทศบาลตำบลทุ่งควายกินถึงสามแยกประแส ซึ่งได้รับผลกระทบจากคลองโพล้ หรือคลองเขาดินที่มีน้ำเกินปริมาณที่คลองจะรับไหว
กรณีน้ำล้นตลิ่งและบ่าขึ้นมาท่วม จึงเป็นคนละกรณีกับการที่ฝนตกหนักและระบายน้ำไม่ทันในเขตชุมชนเมืองของเมืองแกลง แต่ทั้งสองกรณีพบว่า น้ำจะไม่แช่ขังนานนัก เนื่องจากมีคลองทอดตัวอยู่ทั่วบริเวณ
การเตรียมตัวรับมือกับปัญหาน้ำล้นตลิ่งซึ่งเกิดขึ้นสามรอบแล้วในเดือนกันยายนถึงตุลาคม ๒๕๕๔ จึงต้องมีการสื่อสารสองทางระหว่างเขื่อนโครงการประแสกับเจ้าของพื้นที่เพื่อผ่องถ่ายให้ข้้อมูลสถานการณ์ระหว่างกัน ผู้เกี่ยวข้องต้องติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งการลงพื้นที่ประเมินสภาพ การแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงด้วยเครื่องมือต่าง ๆ คือ หอกระจายข่าว รถประกาศเคลื่อนที่ การส่งข้อมูลผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ การติดต่อตรงทางโทรศัพท์ระหว่างกัน การเตรียมแผนการช่วยเหลือกรณีฉุกเฉิน การให้คำแนะนำเรื่องระดับพื้นบ้านที่ควรจะเป็นเมื่อมีการก่อสร้าง การขุดลอกคลองเพื่อให้สามารถรองรับปริมาณน้ำได้มากและรื้อถอนสิ่งกีดขวางต่าง ๆ เช่น สวะ กิ่งไม้ให้พ้นคลองเพื่อการระบายน้ำที่ดี
เมืองแกลง เป็นเมืองที่ตั้งริมฝั่งคลอง อิทธิพลของน้ำล้นตลิ่งมีผลถึงขั้นสันนิษฐานกันว่า ทำให้ต้องย้ายที่ตั้งเมืองแกลงเดิมจากบ้านดอนเค็ด หลังวัดโพธิ์ทองพุทธาราม ในปี พ.ศ.๒๔๕๑ สมัยรัชกาลที่ ๕ มาอยู่บนที่ดอนอย่างบ้านตลาดสามย่านมาจนกระทั่งปัจจุบัน
เมื่อเรามีบ้านเรือนตั้งริมฝั่งคลองฉะนี้แล้ว จึงสมควรที่จะเข้าใจธรรมชาติแห่งเมืองเพื่อปรับตัวเตรียมพร้อมที่จะอยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติฉะนี้แล
นอกจากนี้ ยังมบริเวณสะพานซอยท่ายายบุญ บ้านบเนิน (ลมโชย) สะพาน ๑๐๐ ปีบ้านตลาดสามย่าน ซอยฝั่งธน ซอยท่าน้ำศาลาต้นโพธิ์ ซึ่งบริเวณทั้งหลายนี้ล้วนมีที่ตั้งริมฝั่งคลองประแสทั้งสิ้น แต่น้ำจะบ่าล้นขึ้นมามากน้อยเพียงใดและไกลแค่ไหน ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำในคลองเป็นสำคัญ
พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบนอกจากนี้ ยังมีบริเวณวิทยาลัยเฉลิมกาญจนา บ้านหนองน้ำขุ่น ซึ่งได้รับผลกระทบจากคลองหนองน้ำขุ่น พื้นที่บริเวณสำนักงานเทศบาลตำบลทุ่งควายกินถึงสามแยกประแส ซึ่งได้รับผลกระทบจากคลองโพล้ หรือคลองเขาดินที่มีน้ำเกินปริมาณที่คลองจะรับไหว
กรณีน้ำล้นตลิ่งและบ่าขึ้นมาท่วม จึงเป็นคนละกรณีกับการที่ฝนตกหนักและระบายน้ำไม่ทันในเขตชุมชนเมืองของเมืองแกลง แต่ทั้งสองกรณีพบว่า น้ำจะไม่แช่ขังนานนัก เนื่องจากมีคลองทอดตัวอยู่ทั่วบริเวณ
การเตรียมตัวรับมือกับปัญหาน้ำล้นตลิ่งซึ่งเกิดขึ้นสามรอบแล้วในเดือนกันยายนถึงตุลาคม ๒๕๕๔ จึงต้องมีการสื่อสารสองทางระหว่างเขื่อนโครงการประแสกับเจ้าของพื้นที่เพื่อผ่องถ่ายให้ข้้อมูลสถานการณ์ระหว่างกัน ผู้เกี่ยวข้องต้องติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งการลงพื้นที่ประเมินสภาพ การแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงด้วยเครื่องมือต่าง ๆ คือ หอกระจายข่าว รถประกาศเคลื่อนที่ การส่งข้อมูลผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ การติดต่อตรงทางโทรศัพท์ระหว่างกัน การเตรียมแผนการช่วยเหลือกรณีฉุกเฉิน การให้คำแนะนำเรื่องระดับพื้นบ้านที่ควรจะเป็นเมื่อมีการก่อสร้าง การขุดลอกคลองเพื่อให้สามารถรองรับปริมาณน้ำได้มากและรื้อถอนสิ่งกีดขวางต่าง ๆ เช่น สวะ กิ่งไม้ให้พ้นคลองเพื่อการระบายน้ำที่ดี
เมืองแกลง เป็นเมืองที่ตั้งริมฝั่งคลอง อิทธิพลของน้ำล้นตลิ่งมีผลถึงขั้นสันนิษฐานกันว่า ทำให้ต้องย้ายที่ตั้งเมืองแกลงเดิมจากบ้านดอนเค็ด หลังวัดโพธิ์ทองพุทธาราม ในปี พ.ศ.๒๔๕๑ สมัยรัชกาลที่ ๕ มาอยู่บนที่ดอนอย่างบ้านตลาดสามย่านมาจนกระทั่งปัจจุบัน
เมื่อเรามีบ้านเรือนตั้งริมฝั่งคลองฉะนี้แล้ว จึงสมควรที่จะเข้าใจธรรมชาติแห่งเมืองเพื่อปรับตัวเตรียมพร้อมที่จะอยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติฉะนี้แล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
เนื่องจากบล็อกนี้ จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมเรื่องราวการดำเนินงานของเทศบาล โปรดให้ข้อสังเกต คำแนะนำ หรือเติมเต็มองค์ความรู้เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเมืองต่อไป